อำนาจหน้าที่

เมื่อวันที่ 00 543 , view 3785 ครั้ง

ภารกิจ  อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะช้าง

                   การพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะช้างนั้น   เป็นการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการร่วมคิดร่วมแก้ไขปัญหา  ตลอดจนร่วมสร้างร่วมส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะช้าง  ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นในทุกด้าน การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะช้างจะสมบูรณ์ได้  จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชน  ในพื้นที่เกิดความตระหนักร่วมกันในการแก้ไขปัญหาและมีความเข้าใจในแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างจริงจัง องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะช้างยังได้เน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา  นอกจากนี้   ยังได้เน้นการส่งเสริมและสนับสนุนให้การศึกษาเด็กก่อนวัยเรียนและพัฒนาเยาวชนให้พร้อมที่จะเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ  โดยยึดกรอบแนวทางในการจัดการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา   ส่วนด้านการพัฒนาอาชีพนั้นจะเน้นพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในท้องถิ่น

                   การวิเคราะห์ภารกิจ   อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗ พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒ และกฎหมายอื่นขององค์การบริหารส่วนตำบล และใช้เทคนิค SWOT  เข้ามาช่วย ในการวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อประเมินสถานภาพการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะช้าง  และปัจจุบันเป็นการประเมินโดยวิเคราะห์ถึงโอกาสและภาวะคุกคามหรือข้อจำกัดอันเป็นสภาวะแวดล้อมภายนอกที่มีผลต่อการพัฒนาด้านต่าง ๆ  ขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะช้าง  รวมทั้งการวิเคราะห์จุดแข็ง  จุดอ่อน ขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะช้างอันเป็นสภาวะแวดล้อมภายในองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะช้าง  ดังนี้


การวิเคราะห์ศักยภาพการพัฒนาท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะช้าง

จุดแข็ง  จุดอ่อน   โอกาส  และอุปสรรค (SWOT  Analysis)

........................................................

                การวิเคราะห์จุดแข็ง (Strength = S)

               ๑. อัตรากำลังคนทำงานในองค์กรมีจำนวนมากเพียงพอที่จะปฏิบัติภารกิจในปัจจุบัน(พ.ศ. 2560)ได้เมื่อเปรียบเทียบกับองค์กรที่มีรายได้เทียบเท่ากัน 

               ๒. อบต.เกาะช้างมีสมรรถนะสามารถให้บริการสาธารณะได้อย่างทั่วถึง

               ๓. มีการรวมกลุ่มที่เข้มแข็งในพื้นที่หลายกลุ่ม เช่น กลุ่มกลุ่มพัฒนาสตรี  กลุ่มผู้สูงอายุชมรมร่มโพธิ์ทองฯลฯ

               ๔. ปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญระบบงานหลายคน

               ๕. มีเครื่องจักร และอุปกรณ์เครื่องมือสำหรับปฏิบัติภารกิจช่วยเหลือชุมชน

               ๖. อปท.สามารถดูแลบริหารจัดการด้านการศึกษาได้อย่างใกล้ชิดแล มีองค์ความรู้ด้านการศึกษา

                   การวิเคราะห์จุดอ่อน (Weaknesses = W)

                ๑. ปัญหาด้านทรัพยากรบุคคลที่มีจำนวนมากแต่ปฏิบัติงานไม่เต็มที่

                ๒. ปัญหาการไร้สัญชาติของ เด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลเกาะช้าง

                ๓. มีพื้นที่อยู่ติดชายแดนทำให้มีปัญหาเรื่องโรคติดต่อ

                ๔. มีอาณาเขตบริเวณตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงด้านปัญหายาเสพติด

                ๕. องค์กรมีภาพพจน์ด้านระบบบัญชี การเงินอยู่ในกลุ่มเสี่ยง

                ๖. วัฒนธรรมการจัดสรรงบประมาณแบบเอาหมู่บ้านเป็นเกณฑ์ ไม่ได้นำเอาปัญหาและความต้องการเป็นเกณฑ์

                ๗. สถานที่ทำงานคับแคบ 

                ๘. มีการใช้เครื่องจักร/ทรัพยากรสิ้นเปลือง(การเรียกใช้รถขุดตักได้ง่ายทำให้บางครั้งนำไปดำเนินการในสิ่งที่ไม่จำเป็นเร่งด่วนทำให้เกิดการสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ)

                 ๙. การรวมศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก   ทำให้อัตราครูเกินจำนวนเด็ก   ทำให้จำนวนการจัดสรรอัตราครูเกินต่อความต้องการ

                การวิเคราะห์โอกาส (Opportunities = O)

                   ๑. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ให้การสนับสนุนการดำเนินงานของท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจท้องถิ่น ระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ เป็นต้น

                   ๒. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  พ.ศ. 2542 กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น โดยที่หน่วยงานราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคส่งเสริมและสนับสนุนถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                   ๓. รัฐบาลมีนโยบายให้อำเภอแม่สายเป็นเมืองเศรษฐกิจพิเศษ

                   ๔. รัฐบาลสนับสนุนให้แต่ละท้องถิ่นมีบทบาทในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู เผยแพร่ และถ่ายทอดวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นมากขึ้น

                   ๕. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 สนับสนุนให้มีการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นอย่างเท่าเทียมกันและทั่วถึง

                   ๖. ตำบลเกาะช้าง   อยู่ติดกับพื้นที่ชายแดนมีการค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้าน

                   ๗. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นมีการเพิ่มเติม อัตราครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 

                   ๘. ได้รับสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในการจัดกิจกรรมด้านการพัฒนาศักยภาพด้านต่างๆ

                   ๙. การเข้าสู่ AEC จะทำให้มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวในพื้นที่มากขึ้น สร้างรายได้ให้แก่ราษฎรในพื้นที่

                  การวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคหรือข้อจำกัด  (Threats = T)

                   ๑. แรงงานต่างด้าวที่อพยพเข้ามาในท้องถิ่น ส่งผลให้อาจจะเกิดปัญหาสุขภาพปัญหา        ยาเสพติด   และปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

                   ๒. บางคนยังไม่ยอมรับกับการเปลี่ยนแปลง ยังยึดถือแนวความคิดในการพัฒนาแบบเก่า

                   ๓. ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ที่มีอยู่เริ่มชำรุดและล้าสมัย

                   ๔. ปัญหาข้อจำกัดของระเบียบกฎหมายที่ทำให้อปท.ไม่สามารถช่วยเหลือประชาชนได้เต็มที่

                   ๕. ปัญหาข้อระเบียบกฎหมายที่ไม่ชัดเจนของส่วนกลางในด้านการบริหารการศึกษา เช่น เด็กปฐมวัยที่ไร้สัญชาติจะมีสิทธิได้รับสวัสดิการอาหารกลางวัน อาหารเสริมนมหรือไม่ เป็นต้น

                   ๖. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบ อปท.อย่างเข้มงวด บางครั้งปัญหาไม่ได้เกิดจาก อปท. แต่เป็นปัญหาระเบียบกฎหมายที่ส่วนกลางกำหนดมามีปัญหาในทางปฏิบัติ เช่น ปัญหาฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าได้หรือไม่

                   ทั้งนี้ เพื่อให้ทราบว่าองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ที่จะเข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาในเขตพื้นที่ให้ตรงกับความต้องการของประชาชนอย่างไร  โดยวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส  ภัยคุกคาม  ในการดำเนินการตามภารกิจหลัก SWOT องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะช้าง   กำหนดวิธีการดำเนินการตามภารกิจสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  แผนพัฒนาจังหวัด  แผนพัฒนาอำเภอ   แผนพัฒนาตำบล นโยบายของรัฐบาลและนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น  ทั้งนี้   สามารถวิเคราะห์ภารกิจให้ตรงกับสภาพปัญหาโดยสามารถกำหนดแบ่งภารกิจได้เป็น ๗ ด้าน  ดังนี้

 ๑. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน องค์การบริหารส่วนตำบลมีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้

                       (๑) จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก

                        (๒) ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร

                       (๓) ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น

                       (๔) ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ

                       (๕) การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ

                       (๖) การสาธารณูปการ 

๒. ด้านการพัฒนาแหล่งน้ำและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมองค์การบริหารส่วนตำบลมีภารกิจเกี่ยวข้อง ดังนี้

                       (๑) คุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   

                       (๒) รักษาความสะอาดของถนน  ทางน้ำ   ทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล 

                       (๓) การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่างๆ

๓. ด้านการพัฒนาคน สังคม และสาธารณสุของค์การบริหารส่วนตำบลมีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

                       (๑) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ

                       (๒) ป้องกันโรคและระวังโรคติดต่อ

                       (๓) การสังคมสงเคราะห์และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก   สตรี  คนชราและผู้ด้อยโอกาส

                       (๔) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย

                       (๕) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพของประชาชน 

                       (๖) การสาธารณสุข  การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล 

                       (๗) การพัฒนาและส่งเสริมกิจกรรมกีฬา

๔. ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ องค์การบริหารส่วนตำบลมีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

                       (๑) สิ่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว

                       (๒) ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์ 

                       (๓) บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร 

                       (๔) ให้มีตลาด 

                       (๕) การท่องเที่ยว

                       (๖) กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์

                       (๗) การส่งเสริมการฝึกและประกอบอาชีพ 

                       (๘) การพาณิชยกรรมและการส่งเสริมการลงทุน 

๕. ด้านการพัฒนาด้านการเมืองการบริหารบ้านเมืองที่ดี องค์การบริหารส่วนตำบลมีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

                       (๑) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

                       (๒) การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน 

                       (๓) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง 

                       (๔) การควบคุมอาคาร  

                       (๕) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร ในการมีมาตรการป้องกัน

๖. ด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลมีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

                       (๑) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

                       (๒) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 

                       (๓) การจัดการศึกษา 

                       (๔) การส่งเสริมการกีฬา  จารีตประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงานของท้องถิ่น 

๗. ด้านการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ องค์การบริหารส่วนตำบลมีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้          

                      (๑) ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม

              ภารกิจทั้ง ๗ ด้าน ตามที่กฎหมายกำหนดให้อำนาจองค์การบริหารส่วนตำบลสามารถจะแก้ไขปัญหาต่างๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะช้างได้เป็นอย่างดี มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยคำนึงถึงความต้องการของประชาชนในเขตพื้นที่ประกอบด้วย การดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลจะต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ   แผนพัฒนาตำบล นโยบายของรัฐบาลและนโยบายของผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลทั้งนี้สามารถวิเคราะห์ภารกิจให้ตรงกับสภาพปัญหาโดยสามารถกำหนดแบ่งภารกิจได้เป็น๗ด้านซึ่งภารกิจดังกล่าวได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗ และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒ ดังนี้

               ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้

                     (๑) จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก(มาตรา๖๗ (๑) , ๑๖ (๒))

                     (๒) ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตร(มาตรา๖๘ (๑))

                     (๓) ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น(มาตรา๖๘ (๒))

                     (๔) ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ(มาตรา๖๘ (๓))

                     (๕) การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ(มาตรา๑๖ (๔))

                     (๖) การสาธารณูปการ(มาตรา๑๖ (๕))

                    (๗) การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร (มาตรา๑๖ (๒๖))

               ด้านการพัฒนาแหล่งน้ำและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้

    (๑) คุ้มครองดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(มาตรา๖๗ (๗))

    (๒) การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย (มาตรา๑๖ (๘))

    (๓) การจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (มาตรา๑๖(๒๔))

              ด้านการพัฒนาด้านคน สังคม สาธารณสุขมีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้

                     (๑) ส่งเสริมการพัฒนาสตรีเด็กเยาวชนผู้สูงอายุและผู้พิการ(มาตรา๖๗ (๖))

                     (๒) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ(มาตรา๖๗ (๓))

                     (๓) ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุมการกีฬาการพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ(มาตรา๖๘ (๔))

                     (๔) บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร (มาตรา ๖๘ (๗))

                     (๕) การส่งเสริมการฝึกและประกอบอาชีพ (มาตรา ๑๖ (๖))

                     (๖) การจัดการศึกษา (มาตรา ๑๖ (๙))

                      (๗) การสังคมสงเคราะห์และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กสตรีคนชราและผู้ด้อยโอกาส (มาตรา๑๖ (๑๐))

                       (๘) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย (มาตรา ๑๖ (๒))

                      (๙) การส่งเสริมประชาธิปไตยความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพของประชาชน (มาตรา๑๖ (๕))

                      (๑๐) การสาธารณสุขการอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล(มาตรา๑๖ (๑๙))

                     (๑๑) การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ (มาตรา ๑๖ (๑๓))

                     (๑๒) การส่งเสริมกีฬา (มาตรา ๑๖ (๑๔))

                     (๑๓) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปณสถาน (มาตรา ๑๖ (๒๐))

                     (๑๔) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ (มาตรา ๑๖ (๒๑))

                     (๑๕) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ (มาตรา ๑๖ (๒๒))

               ด้านการพัฒนาด้านเศรษฐกิจมีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้

                     (๑) ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว(มาตรา๖๘ (๖))

                     (๒) ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์(มาตรา๖๘ (๕))

                     (๓) บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร(มาตรา๖๘ (๗))

                     (๔) ให้มีตลาด(มาตรา๖๘ (๑๐))

                     (๕) ส่งเสริมการท่องเที่ยว(มาตรา๖๘ (๑๒))

                     (๖) กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์(มาตรา๖๘ (๑๑))

                     (๗) การส่งเสริมการฝึกและประกอบอาชีพ(มาตรา๑๖ (๖))

                     (๘) การพาณิชยกรรมและการส่งเสริมการลงทุน(มาตรา๑๖ (๗))

                     (๙) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง (มาตรา ๑๖ (๑))

               ด้านการพัฒนาการเมืองการบริหารบ้านเมืองที่ดีมีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้

                (๑) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(มาตรา๖๗ (๔))

                 (๒) การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน(มาตรา๖๘ (๘))

                 (๓) การผังเมือง(มาตรา๖๘ (๑๓))

                 (๔) การรักษาความปลอดภัยความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัย โรงมหรสพและสาธารณสถานอื่น(มาตรา ๖๘ (๑๓) ๑๖ (๒๕))

                 (๕) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง(มาตรา๑๖ (๑๗))

                  (๖) การควบคุมอาคาร(มาตรา๑๖ (๒๘))

                 (๗) การรักษาความสงบเรียบร้อยการส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (มาตรา ๑๖ (๓๐))

                 (๘) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพของประชาชน(มาตรา๑๖(๑๕))

                 (๙) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร ในการมีมาตรการป้องกัน(มาตรา๑๖ (๑๖))

            ด้านการพัฒนาด้านการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมประเพณีมีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้

                   (๑) บำรุงรักษาศิลปะจารีตประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น (มาตรา๖๗ (๘))

                   (๒) ส่งเสริมการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม(มาตรา๖๗ (๕))

            ด้านการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้

                   (๑) การส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม (มาตรา ๑๗(๙))

              

หมายเหตุ : มาตรา๖๗ , ๖๘ หมายถึง พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗ (และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ ๖) พ.ศ.๒๕๕๒)

มาตรา๑๖,๑๗ หมายถึง พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒



เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น